วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทพเจ้ากรีกที่น่าสนใจ




ฮาเดส (Hades) หรือ พลูโต (Pluto) เทพเจ้าแห่งยมโลก

          เทพฮาเดส เป็นโอรสของเทพโครนัส (Cronus) และ เทพีรีอา (Rhea) เป็นพี่น้องสายเลือดเดียวกันกับ เทพโพไซดอน (Poseidon) เทพีเฮสเทีย (Hestia) เทพีดิมีเตอร์ (Demeter) เทพีฮีรา (Hera) และ มหาเทพซุส (Zeus)
          เมื่อมหาเทพซุส โค่นเทพโครนัสบิดาของตนลงจากบัลลังก์แล้ว เทพซุสได้แต่งตั้งเทพโพไซดอน ปกครองมหาสมุทร แม่น้ำทั้งปวง และให้เทพฮาเดสปกครองดินแดนยมโลก หรือ นรก เทพฮาเดสเป็นผู้ปกครองนรกซึ่งมีแต่ความมืดมิดและน่ากลัว จึงไม่ได้ขึ้นไปบนเขาโอลิมปัสบ่อยนัก อีกทั้งเทพองค์อื่น ๆ ก็ไม่ชอบที่จะต้อนรับฮาเดสด้วย ดังนั้นฮาเดสจึงไม่มีชื่อเป็นหนึ่ง ในเทพโอลิมปัส เฉกเช่นองค์อื่น ๆ

รูปปั้นฮาเดส (Hades)

          ฮาเดส หรือ เฮดีส (Hades) ชาวโรมันเรียกว่า พลูโต (Pluto) เทพเจ้าผู้ปกครองนรก และโลกหลังความตาย ในตำนานถือได้ว่าเป็นเจ้าแห่งทรัพย์ เพราะเทพฮาเดสมีสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกอย่างภายใต้พื้นพิภพ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดีส (Dis) ซึ่งแปลตรงตัวว่า ทรัพย์สิน นอก จากนี้ ฮาเดส ยังได้ชื่อว่าเป็นเทพที่มีความเที่ยงธรรมอย่างมาก ตัดสินความดี ความชั่ว ของคนตาย โดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งสิ้น กล่าวกันว่า พระองค์มีหมวกวิเศษอยู่ใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมหายตัวได้ และพระองค์มีเทพผู้ช่วยในการตัดสินความดี ความชั่ว ในยมโลกอีก 3 องค์คือ ราดาแมนทีส ไมนอส ไออาคอส โดยมีชื่อเรียกว่า สามเทพสุภา และยังมี ฮิปนอส เทพแห่งการหลับไหล และ ทานาทอส เทพแห่งความตายคอยให้ความช่วยเหลืออยู่อีกด้วย

เทพเฮเดส กำลังลักพา เทพีเปอร์เซโฟนี

          ครั้งหนึ่งเมื่อเทพฮาเดสได้เสด็จขึ้นมาบนพื้นโลก ได้พบกับเทพีเปอร์เซโฟนี (Persephone) เทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิ และเป็นธิดาของ เทพีดิมีเตอร์ เทพีแห่งธัญญาหาร หรือพระแม่โพสพกับมหาเทพซุส ซึ่ง เทพีเปอร์เซโฟนีก็เป็นหลานของเทพฮาเดสนั่นเอง อย่างไรก็ตามเทพฮาเดสหลงรักเทพีเปอร์เซโฟนีทันทีที่พบนาง พร้อมกับฉุดฝืนใจนาง พาลงไปสู่ดินแดนใต้พิภพ เพื่อครองคู่

เทพเฮเดส และ เทพีเปอร์เซโฟนี

          เมื่อเทพีดิมีเตอร์ทราบว่าธิดาของตน ถูกลักพาตัวก็ร้องเรียนต่อมหาเทพซุสให้ช่วยนำธิดาของเธอคืนมา มหาเทพ จึงส่งเทพเฮอร์มีส (Hermes) เป็นทูตไปเจรจากับเทพฮาเดส การเจรจาคราวนั้นมีเงื่อนไขว่า ถ้าเทพีเปอร์เซโฟนี ไม่ได้เสวยอะไรในยมโลก เทพฮาเดสต้องส่งนางคืนแก่เทพีดิมีเตอร์โดยทันที แต่หาก เทพีเปอร์เซโฟนี เสวยของในยมโลก เทพฮาเดส ก็จะมีสิทธิในตัวนาง ผลปรากฏว่าเทพีเปอร์เซโฟนีได้เสวยเมล็ดผลทับทิมไป 6 เมล็ด จึงตกลงกันว่าในแต่ละปี เทพีเปอร์เซโฟนี จะกลับขึ้นมาอยู่กับพระมารดาบนพื้นโลก 6 เดือน และต้องกลับไปอยู่กับเทพฮาเดสในยมโลกอีก 6 เดือน ช่วงที่เทพีเปอร์เซโฟนีขึ้นมาอยู่บนพื้นโลกนั้น เทพีดิมีเตอร์ มีความยินดีอย่างยิ่ง ทำให้แผ่นดินและพืชพันธุ์คืนสู่ความเขียวขจี พร้อมกับเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน และ เมื่อเทพีเปอร์เซโฟนี ต้องกลับไปอยู่ยังยมโลก พืชพรรณและแผ่นดินที่เขียวขจีก็จะเหี่ยวแห้งอับเฉา พร้อมกับเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว การที่เทพฮาเดสได้อยู่ร่วมกับมเหสีเพียง 6 เดือนในแต่ละปีนั้นสะท้อนถึง ความเปล่าเปลี่ยวของเทพฮาเดสได้เป็นอย่างดี

          มีอยู่ครั้งหนึ่ง เทพฮาเดส ทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรนามว่า มินธี (Minthe) แต่ทว่าความรักนี้มิยั่งยืน ด้วยเหตุที่ เทพีดีมิเตอร์ ซึ่งมีฐานะเป็นแม่ยาย เห็นเทพฮาเดส ทำท่าจะนอกใจธิดาของตน เทพีก็พิโรธโกรธเกรี้ยวลงทัณฑ์จนมินธีนางอัปสรผู้น่าสงสารตาย เทพฮาเดส เวทนาสงสารนางอัปสรน้อยนั้น จึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายเป็นพืชชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม และได้กลายเป็นพืชประจำพระองค์ตลอดมา

          อาณาจักรยมโลกของฮาเดสนั้นเป็น ดินแดนเร้นลับ อยู่ภายใต้พื้นโลกที่แสงอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง คำว่า ฮาเดส เป็นภาษากรีกโบราณแปลว่า มองไม่เห็นลักษณะของยมโลก ในตำนานของทุกชาติ มีความคล้ายคลึงกัน ตรงที่เป็นสถานที่ที่ไม่มีใครอยากไปเยี่ยมชม ผู้ถูกลงทัณฑ์อยู่ในยมโลกก็อยู่ในสภาพทุกข์ทรมาน เจ็บป่วย เต็มไปด้วยทุกขเวทนา และเป็นดินแดนลี้ลับภายใต้พื้นพิภพ ที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ส่องไม่ถึง อาณาจักรแห่งนี้ จึงมืดมิด และหนทางที่จะลงไปก็ลำบากเอาการ เพราะต้องเดินทางไปถึงสุดขอบพิภพโดยข้าม มหาสมุทรไป (คนกรีกโบราณ เชื่อว่าโลกแบน และแวดล้อมด้วยมหาสมุทร)

          จาก ความเชื่อนี้เอง จึงเกิดธรรมเนียมเอาเงินใส่ปากคนตายก่อนฝัง เพื่อใช้ในการข้ามแม่น้ำ 3 สาย คือ

1. แม่น้ำสติกซ์ (Styx) แปลว่าแม่น้ำแห่งความเกลียด
2. แม่น้ำลีธี หรือ เลเธ แปลว่าแม่น้ำแห่งความลืม เมื่อดวงวิญญาณคนตายได้ดิ่มน้ำแล้วจะลืมความหลังทั้งหมด
3. แม่น้ำ เฟลจีธอน หรือ เฟลเกทธอน แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำไฟ มีเปลวไฟลุกไหม้โชติช่วงอยู่บนผิวน้ำ และอยู่ล้อมรอบ นรกขุมลึกสุด คือ ทาร์ทะรัส

          ชาวกรีกโบราณจะถวายการสักการะแด่ฮาเดสด้วยแกะดำ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบหาที่มาได้ค่อนข้างยาก แต่ก็มีการสืบทอดต่อกันมาว่า หากจะบูชาเทพแห่งความตายหรือเทพอันใด ที่เป็นสัญลักษณ์ของความน่ากลัวหรือชั่วร้าย ต้องบูชายัญด้วยแพะ หรือแกะดำ



ที่มา : http://variety.phuketindex.com/faith/%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AA-%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AA-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%95-386.html

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจในอียิปต์



หุบผากษัตริย์ : สถานสถิตชั่วนิรันดร์แห่งวิญญาณฟาโรห์




            หุบผากษัตริย์ ( Valley of The King ) นั้นเป็นสถานที่ ๆ มีชื่อโด่งดัง เป็นบริเวณพื้นที่ตอนหนึ่งของภูเขาที่ตั้งอยู่เบื้องหลังธีเบส ( Thebes ) เป็นหมู่ภูเขาที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ตรงข้ามกับลุกซอร์ (Luxor )และเต็มไปด้วยหน้าผาเล็ก ๆ ที่มีเนินเขาสลับซับซ้อน
            เมื่อก่อนย้อนหลังไป 1,700 ปีก่อน ค.ศ. พื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่อันเปล่าเปลี่ยวแห้งแล้ง ไม่มีผู้ใดมาอาศัยอยู่และไม่มีใครเอาใจใส่ แต่หลังจาก 1 , 700 ปีก่อนคริสตกาลมาไม่เท่าใด ชื่อเสียงของหุบผาแห่งนี้ก็กระเดื่องเลื่องลือ ไม่แพ้พื้นที่ ๆ โด่งดังทั้งหลายของไอยคุปต์ และถูกเรียกว่าหุบผากษัตริย์หรือสุสานของกษัตริย์หรือไบบาน เอล มูลุค (Biban EI Muluk ) จนรู้กันไปทั่ว
            ตามสภาพของพื้นที่ในหุบเขา ตั้งแต่พื้นที่ราบจะมีทางเดินลดเลี้ยวเข้าไปในหมู่เนินเขา เข้าไปสู่ที่สูงของหน้าผาคดเคี้ยวไปมา จนในที่สุดก็เลือนหายไปในหมู่เนิน อันเป็นที่ตั้งของสุสานกษัตริย์



กำเนิดอำนาจใหม่

            ยุคอียิปต์เก่าซึ่งย้อนไปได้ถึงราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล อาจกล่าวได้ว่าเป็นวันเวลาของปิรามิดขนาดมหึมาที่ตั้งตระหง่านทอดเงาบนที่ ราบสูงแห่งกิซา โดยมีหมู่สุสานของเชื้อพระวงศ์และขุนนางคนสำคัญอยู่แทบเบื้องบาทของมันดั่ง จะประกาศอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์แห่งฟาโรห์ ผู้ปกครองอันสืบสายเลือดมาจากทวยเทพ

 
 
            ล่วงเลยมานับ พันปีให้หลัง อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ล่มสลายลงด้วยความเสื่อมตามเงื่อนไขของกาลเวลาและการ รุกรานของฮิคโซส ชนเผ่าเร่ร่อนจากภายนอก จนกระทั่งเหล่าชนชั้นสูงแห่งนครธีบส์ได้ลุกขึ้นมาขับไล่เผ่าพวกฮิคโซสออกไป และรวบรวมอาณาจักรอียิปต์ขึ้นมาใหม่ เป็นสมัยที่นักอียิปต์วิทยาเรียกว่า สมัยอาณาจักรใหม่อันเป็นยุคที่อำนาจของชาวอียิปต์ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอย่างสมเกียรติและแผ่ขยาย ออกไปไกลทีสุดในหน้าประวัติศาสตร์อียิปต์
            เพื่อตอกย้ำตัวตนของ อำนาจใหม่ที่อุบัติขึ้น เหล่าชนชั้นสูงแห่งธีบส์จึงได้เลือกสิ่งที่ต่างออกไปเพื่อแสดงพลังของพวกเขา และเพื่้อแสดงว่ายุคใหม่มาถึงแล้ว

 
            เนินเขาธีบัน (Theban Hills) นอกเมืองธีบส์ (ลักซอร์ในปัจจุบัน) บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ถูกปกคลุมด้วยเงาของยอดเขาอัล-คูร์น (al-Qurn) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยอียิปต์โบราณว่า ทา ดีฮีนต์ (ta dehent)” แปลว่า ยอดสูงสุดของภูเขา (The Peak) และเมื่อแหงนหน้ามองขึ้นไปจากเนินเขาธีบัน ก็จะพบว่า อัล-คูร์นในวันนี้หรือทา ดีฮีนต์เมื่อวันวาน มีรูปลักษณ์ปิรามิดขนาดยักษ์ไม่มีผิด
            แม้จะต้องการ สร้างสิ่งใหม่ แต่ความคิดเรื่องโลกหลังความตายของเหล่าชนชั้นสูงแห่งธีบส์ก็ไม่ได้เปลี่ยน แปลงไปจากเดิมเท่าใดนัก พวกเขาอาจต้องการความยิ่งใหญ่เทียบเท่าวันที่ปิรามิดประกาศศักดา แต่สิ้นเปลืองน้อยลงเพราะเป็นช่วงเวลาที่ฟื้นฟูบ้านเมืองใหม่ สภาพภูมิประเทศบนเนินเขาธีบันซึ่งคล้ายคลึงกับหมู่สุสานบนที่ราบสูงกิซานอก อดีตนครหลวงเมมฟิสจึงอาจเป็นทางเลือกที่พวกเขาปรารถนา
            จากจุด ประสงค์ที่ต้องการใช้สภาพภูมิประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการก่อสร้างของ เหล่าสถาปนิกและวิศวกรในสมัยอาณาจักรอียิปต์ใหม่นี้เอง จึงกลายเป็นที่มาของเหตุผลว่าทำไม ฟาโรห์แห่งอียิปต์ในสมัยนี้จึงได้เลือกอาณาบริเวณนั้นเป็นที่สถิตแห่งลม หายใจเฮือกสุดท้ายของตน และเป็นจุดเริ่มต้นของหนึ่งในสุสานอันยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยก่อ สร้างมา อาณาบริเวณได้รับการขนานนามว่า หุบผากษัตริย์” (Valley of the Kings)


ก้าวแรกของหุบผากษัตริย์

            หุบผากษัตริย์ถูกใช้สำหรับ เป็นสถานที่ฝังศพอยู่ราว 500 กว่าปีโดยเริ่มตั้งแต่ 1,539 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง 1075 ปีก่อนคริสตกาลในรัชสมัยของฟาโรห์รามเซสที่ 11 (Ramesses XI) มีสุสานในหุบเขาแห่งนี้อย่างน้อย 63 สุสาน
            จากเสียงสะท้อน ของปิรามิดในสมัยอาณาจักรเก่า เป็นเวลานับพันปีให้หลังที่สุสานหลวงแห่งแรกถูกสร้างขึ้นในบริเวณหุบผา กษัตริย์ บริเวณซึ่งตำแหน่งของมันถูกโดดเดี่ยวจากโลกภายนอกและพรั่งพร้อมด้วยเหล่าเม ดไจ (Medjai) หน่วยองครักษ์พิเศษที่ได้รับมอบหมายภารกิจให้พิทักษ์พื้นที่อันเป็นสุสา โดยจากหลักฐานเท่าที่พบเชื่อกันว่า สุสานหลวงแห่งแรกในหุบผากษัตริย์น่าจะเป็นของฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 (Thutmose I) แห่งราชวงศ์ที่ 18
            แม้ชื่อจะ บ่งบอกว่าเป็นหุบเขาสำหรับบรรจุพระศพของฟาโรห์เท่านั้น แต่ในความจริงกลับมีสุสานของเหล่าผู้สูงศักดิ์มากมายอยู่ในหุบผากษัตริย์ ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่องค์ฟาโรห์โปรดปราน อาทิ เชื้อพระวงศ์หรือขุนนางใกล้ชิดตลอดจนภรรยาและบุตรธิดาของพวกเขาเหล่านั้น ในรัชสมัยของฟาโรห์รามเซสที่ 1 (Ramesses I) ได้มีการก่อสร้างหุบผาราชินี (Valley of the Queens) เพื่อเป็นสุสานสำหรับราชินีโดยเฉพาะ แต่ถึงกระนั้นราชินีบางองค์ก็เลือกที่จะถูกฝังเคียงข้างพระสวามีในหุบผา กษัตริย์
            ในสมัยราชวงศ์ที่ 18 มีเพียงฟาโรห์เท่านั้นที่ได้สิทธิ์ในการสร้างสุสานขนาดใหญ่ในหุบผากษัตริย์ ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์หรือไม่ หากต้องการถูกฝังที่นั่นจะได้รับอนุญาตเพียงสุสานขนาดเล็กซึ่งเกิดจากการขุด โพรงหินเท่านั้น และสุสานของคนเหล่านี้ก็จะอยู่ในตำแหน่งที่ปิดทางเข้าสุสานของฟาโรห์พระองค์ นั้นๆพอดี
            นับแต่รัชสมัยฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 เป็นต้นมา ฟาโรห์ทุกพระองค์ในราชวงศ์ที่ 18 เลือกที่จะฝังพระองค์ในหุบผากษัตริย์ จนมาถึงรัชสมัยฟาโรห์เอเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III) ที่ได้ย้ายไปสร้างสุสานของพระองค์ในหุบเขาตะวันตก ตามมาด้วยโอรสของพระองค์คือฟาโรห์อัคเคนาเตน (Akhenaten) ได้สร้างสุสานของพระองค์ที่นครอาร์มานา ฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 18 กลับมาสร้างสุสานอีกครั้งในรัชสมัยของฟาโรห์ตุตันคามุน (Tutankhamun)
            เมื่อ ถึงสมัยราชวงศ์ที่ 19 และ 20 จำนวนสุสานในหุบผากษัตริย์ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของฟาโรห์ผู้มีโอรสมากอย่างฟาโรห์รามเซสที่ 2 และฟาโรห์รามเซสที่ 3 ซึ่งได้มีการก่อสร้างสุสานจำนวนมากในหุบผากษัตริย์ให้กับเหล่าโอรสของ พระองค์ อย่างไรก็ดี มีฟาโรห์ในช่วงเวลานี้บางพระองค์ไม่สร้างสุสานในหุบผากษัตริย์ อาทิ ฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 (Thutmose II) เลือกสร้างสุสานของพระองค์ที่ ดราอาบู เอล-นาคา (Dra'' Abu el-Naga'') ซึ่งเป็นบริเวณสุสานของราชวงศ์ที่ 17



ที่มา:     http://www.touristport.com/valleyking.php
            http://www.tsacairo.com/content_id131.html